ปัญหามือใหม่ จ่ายหนี้ กยศ. ครั้งแรก ต้องเตรียมอะไรบ้าง ? แบบกู้จนเรียนจบ
ขั้นตอนในการเตรียมตัวจ่ายหนี้ กยศ.
- เรียนจบ ปลอดหนี้ 2 ปี (เตรียมหางานและเก็บเงิน)
- ตรวจสอบหนี้ กยศ.
- แนะนำให้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์เปิดใช้บริการผ่านเว็บไซต์ก่อน (รายเก่า รายใหม่ลงใหม่หมด) ที่เว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th/ เตรียมบัตรประชาชน เบอร์มือถือ และอีเมล์
- เมื่อสมัครและเข้าระบบแล้ว เช็ดตารางผ่อน 15 ปี พร้อมดอกเบี้ย
- เว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th/ > ชำระเงินและตรวจสอบ > ตารางผ่อนชำระ
- แอปมือถือ กยศ. connect > บริการ > ตารางผ่อนชำระ
- โดยงวดปีที่ 1 เริ่มจ่ายหนี้ จะไม่ได้คิดดอกเบี้ย จะเริ่มคิดดอกเบี้ย ปีที่ 2 เป็นต้นไป กลับไปอ่านตารางผ่อนชำระที่ระบบได้
- รู้ยอดต้องชำระหนี้ พร้อมดอกเบี้ยแล้ว ต้องชำระให้ทัน (ภายในวันที่ 5 ก.ค. xxxx) ของทุกปี หรือจะผ่อนจ่ายก็ได้ เท่าไหร่ก็ได้ ให้เท่ากับยอดที่ชำระในปีนั้น เช่น 2000 บาท ผ่อนจ่ายเดือนละ 166 บาท ห้ามต่ำกว่ายอดที่ชำระงวดนั้น อาจจะโดนคิดเบี้ยปรับก็ได้
- ถ้าจ่ายไม่ทัน หรือไม่หมดตามจำนวนยอดหนี้ กยศ. งวดปีนั้น ๆ จะมีการคิดคำนวณเบี้ยปรับ ร้อยละ 7.5 ของยอดเงินค้างชำระงวดนั้น
- วิธีชำระหนี้ กยศ. ได้หลายหลายช่องทางผ่าน ธนาคารกรุงไทยโดยตรง , แอปมือถือ กยศ. connect ผ่าน qr code , แอปเป๋าตัง , แอป กรุงไทย next และเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11
- เช็ดหนี้ยอดเงินกู้ กยศ. คงเหลือ ยอดเงินจะหักในระบบ 2-3 วันทำการ ถ้ายอดเงินไม่เข้าระบบ แนะนำให้โทรสอบถามทางธนาคารกรุงไทย 02-111-1111 สอบถามเรื่องยอดเงิน กยศ. ที่ชำระเข้าไป หรือตรวจสอบด้วยตัวเองก่อน ได้ 2 ช่องทาง
- เว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th/ > ข้อมูลบัญชี > รายละเอียดบัญชี
- แอปมือถือ กยศ. connect > ข้อมูลผู้ใช้ > รายละเอียดบัญชี
- บางกรณีจะมี SMS แจ้งการยืนยันการชำระเงิน หรือแจ้งในแอปมือถือ กยศ. connect ก่อน จะหักตัวเลขหนี้ กยศ. ออกไป ใช้ดำนเนินการ 2 – 3 วันทำการ อาจจะเร็วกว่านี้
- เมื่อชำระเสร็จเรียบร้อยแล้ว แนะนำ! ให้ตรวจสอบตารางผ่อนชำระและระยะเวลา เพื่อจะได้ช่วยการวางแผนหาเงินไปจ่ายหนี้ในปีงวดต่อไป และป้องกันเพื่อไม่ให้โดนเบี้ยปรับ
รู้จักตารางผ่อน 15 ปี พร้อมดอกเบี้ย
ยอดเงินอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากมีการชำระเงินก่อนหรือหลังกำหนดชำระและมีการคำนวนดอกเบี้ยรวมถึงเงินต้นใหม่ กรุณาเข้ามาตรวจสอบก่อนการชำระเงินทุกครั้ง
ตารางผ่อน 15 ปี พร้อมดอกเบี้ย ประกอบไปด้วย สัดส่วนเงินต้น , ยอดเงินต้น (บาท) , ยอดดอกเบี้ย (บาท) และยอดเงินต้นรวมดอกเบี้ย จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เริ่มคำนวณจากยอดเงินกู้เรียน กยศ. ตั้งแต่เริ่ม จนเรียนจบ หรือสัญญา ของกยศ.
อยากเช็ดหนี้ยอดเงินกู้ กยศ. ทำไงดี ? ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตรวจสอบได้ 2 ช่อง
- เว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th/ > ข้อมูลบัญชี > รายละเอียดบัญชี
- แอปมือถือ กยศ. connect > ข้อมูลผู้ใช้ > รายละเอียดบัญชี
ประกอบไปด้วย
- ยอดเงินต้นคงเหลือ (บาท) คือ เงินที่ชำระหนี้แต่ละครั้ง หรือแต่ละงวด หักจากเงินกู้ทั้งหมด
- ยอดเงินต้นค้างชำระ (บาท) คือ หนี้จ่ายไม่ทัน จ่ายไม่ตรงงวด จ่ายไม่หมด
- ดอกเบี้ยค้างชำระ (บาท) คือ ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ของเงินต้นคงเหลือทั้งหมด ดอกเบี้ยจะเดินต่อไปเป็นรายวัน จนกว่าผู้กู้ยืมจะชำระหนี้เสร็จสิ้น
- เบี้ยปรับ (บาท) คือ เกิดจากจ่ายหนี้ กยศ. จ่ายไม่ทัน จ่ายไม่ตรงงวด จ่ายไม่หมด คิดร้อยละ 7.5
- ยอดรวมเงินค้างชำระ (บาท) คือ ยอดหนี้ที่จ่ายไม่หมดที่รวมกับเบี้ยปรับ เรียบร้อยแล้ว
- ดอกเบี้ยที่ต้องชำระเมื่อปิดบัญชี (บาท) คือ ยอดหนี้ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย เมื่อต้องการปิดบัญชี กยศ.
รู้จักดอกเบี้ยค้างชำระ
การคิดดอกเบี้ยตามตารางชำระหนี้ 15 ปี
จำนวนเงินดอกเบี้ยที่ปรากฏตามตารางนี้ ได้คำนวณยอดไว้เป็นรายปี โดยนับจากวันที่ 5 ก.ค เป็นหลัก ดังนั้น หากการชำระหนี้ ที่ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ 5 ก.ค หรือชำระหนี้หลังวันที่ 5 ก.ค. ของแต่ละปี ยอดดอกเบี้ยที่ต้องชำระจริงจะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนวันที่มาชำระหนี้
วิธีการคำนวณดอกเบี้ย
ยอดหนี้คงเหลือ X 1% (อัตราดอกเบี้ย) หาร 365 วัน **เท่ากับอัตราดอกเบี้ยจะเดินเป็นรายวันจนกว่าเงินต้นจะหมด
- ตัวอย่าง ยอดเงินต้นคงเหลือ 180,000.00 บาท ดอกเบี้ยค้างชำระ 5.07 บาท/รายวัน คิดทั้งปี ดอกเบี้ยค้างชำระ 1,850.00 บาท/ปี
- ยอดเงินต้นคงเหลือ บวก ดอกเบี้ยค้างชำระ เท่ากับ 18,6850.00 บาท
- คืนเงินต้นมาก ดอกเบี้ยจะยิ่งลดลงตามไปด้วย คืนเงินต้น 80,000 บาท เหลือ 100,000.00 บาท ดอกเบี้ยค้างชำระ 1000.00 บาท เหลือ 101,000.00 บาท
ดอกเบี้ยค้างชำระ
เงินกู้ยืม กยศ. คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 ของเงินต้นคงเหลือทั้งหมด ดอกเบี้ยจะเดินต่อไปเป็นรายวัน จนกว่าผู้กู้ยืมจะชำระหนี้เสร็จสิ้น เรียกว่า ดอกเบี้ยค้างชำระ
ดังนั้น ถ้าผู้กู้ยิ่งชำระคืนเงินต้นมาก ดอกเบี้ยจะยิ่งลดลงตามไปด้วย วิธีคำนวณดอกเบี้ย ยอดหนี้คงเหลือ X 1% (อัตรา) หาร 365 วัน *กรณีนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับ
รู้จักเบี้ยปรับ
กรณีผิดชำระหนี้มากกว่า 1 งวด หรือชำระหนี้ไม่ครบตามจำนวนงวด ส่งผลทำให้เบี้ยปรับสูงตามด้วย
- ตัวอย่าง
- ยอดเงินต้นค้างชำระงวดที่ผ่านมา จำนวนเงิน 55,323 บาท
- ยอดเงินต้นค้างชำระปัจจุบันตามงวด จำนวนเงิน 12,908.70 บาท รวมเงิน 68,231.7 บาท คิดเบี้ยปรับ (ร้อยละ 7.5) 5,117.38 บาทต่อปี
- ยอดเงินต้นค้างชำระทั้งหมดรวมกับเบี้ยปรับ 73,349.08 บาท
- ถ้าจ่ายเงินเข้าระบบหลังวันที่ 5 ก.ค. xxxx จำนวน 2,000 บาท 1 ปี (12 เดือน) เท่ากับจ่ายทั้งปี 24,000 บาท ลบยอด 73,349.08 บาท คงเหลือ 49,349.08 บาท
- ระบบจะหักเบี้ยปรับให้หมดก่อน จึงยอดเงินต้นค้างชำระไปเรื่อย ๆ จนหมดยอดเงินต้นค้างชำระ
- ชำระหนี้ กยศ. ไม่ทัน ไม่หมดในงวด ภายในวันที่ 5 ก.ค. xxxx ของปีนั้น ๆ และเมื่อถึงกำหนดรอบจ่ายหนี้งวดรอบถัดไป จะถูกนำยอดหนี้ที่ค้างชำระในงวดที่ผ่านมา จ่ายไม่หมด นำมาคิดรวมกันพร้อมเบี้ยปรับ ทำให้ยอดเงินต้นค้างชำระพุ่งสูงขึ้น
จ่ายเงินหนี้ กยศ. เข้าระบบเดือนละ 2,000 บาท ทำไมหนี้ไม่ลดเลย ? เงินต้นอยู่เท่าเดิม
ระบบจะหักเบี้ยปรับ และยอดเงินต้นค้างชำระให้หมดก่อน จึงจะหักยอดเงินต้นคงเหลือ
- ตัวอย่าง ยอดเงินต้นค้างชำระรวมกับเบี้ยปรับ 49,349.08 บาท ยอดเงินต้นคงเหลือ 101,000.00 บาท
- ถ้าจ่ายเงินเข้าระบบ 2,000 บาท 1 ปี (12 เดือน) เท่ากับจ่ายทั้งปี 24,000 บาท ยอดเงินต้นค้างชำระรวมกับเบี้ยปรับ ระบบหักจำนวนที่ค้างชำระให้หมดก่อน จึงจะไปหักยอดเงินต้นคงเหลือ
วางแผนและเทคนิคการจ่ายหนี้ กยศ.
นำยอดรวมที่ชำระรายปี หาร 12 เดือน จะได้ค่าเฉลี่ยในชำระต่อเดือนที่ชำระ
- ตัวอย่างยอดที่ชำระรายปี 5,000 บาท หาร 12 เดือน ตกเดือนละ 416 บาท ทั้งนี้ยอดเงินต้นคงเหลืออยู่เท่าเดิมพร้อมดอกเบี้ยค้างชำระ 1%
- จนกว่าจะจ่ายเกิน 5,000 บาท ในรอบ 1 ปี หรือก่อนวันที่ 5 ก.ค. ของปีงวดถัดไป ทำให้ยอดเงินต้นคงเหลือลดลงได้ และดอดเบี้ย 1% ก็ลดลงด้วย
แอปตรวจสอบยอดหนี้ กยศ. Connect ผ่านมือถือได้แล้ว (ใช้เลขบัตรประชาชน และรหัสผ่าน เหมือนกันที่ใช้งานบนเว็บไซต์)
ที่มา
มีข้อสงสัยให้ติดต่อ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
- Call Center 0-2016-4888
- https://www.studentloan.or.th/
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ กยศ. Connect
- เรื่องทั่วไป
- วิธีตรวจสอบหนี้แบบใหม่! กยศ. Connect
- วิธีจ่ายหนี้ช่องทางไหนบ้าง ?
- ปัญหาเรื่องแอป