วิธี และมาตรา 39 หรือ ประกันสังคมมาตรา 33

ยกเลิกประกันสังคมได้ไหม ?

ได้ ต้องเตรียมเอกสาร และเดินทางไปยกเลิก / 39 / 33

ยื่นเรื่องยกเลิกเป็นประกันสังคม หรือขอเงินคืนประกันสังคมได้ที่ไหน ?

สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมประจำจังหวัด ที่สมัครไว้

ไม่มีระบบออน ต้องไปดำเนินการด้วยตัวเองที่ประกันสังคมประจำจังหวัด และเตรียมเอกสารพื้นฐาน เช่น

  • สำเนาบัตรประชาชนของเราเอง
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไปเองไม่ได้ อย่าลืมสำเนาบัตรประชาชนของคนไปแทนด้วย)
  • สำเนาบัญชีธนาคาร

ข้อมูลอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง มีข้อสงสัยติดต่อและสอบถามได้ที่ ประกันสังคม เบอร์ 1506 หรือ https://www.sso.go.th/


สรุป! มาตรา 40 และเตรียมเอกสารที่จำเป็น ต้องนำไปด้วย!!

เอกสารที่จำเป็นต้องพกไปด้วย!!
> แบบ สปส. 1-40/2 แจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นตามมาตรา 40
> สำเนาบัตรประชาชน
> หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไปเองไม่ได้ อย่าลืมสำเนาบัตรประชาชน)
ยื่นเอกสารยกเลิกประกันสังคมมาตรา 40 > สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สมัครไว้

หากไม่ประสงค์เป็น ต่อไป (ลาออก) ให้ยื่นแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2)
ดาวน์โหลดเอกสาร
กด > สปส. 1-40/2 แบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40

ข้อมูลที่ต้องกเอกสาร
ชื่อ – นามสกุล
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
วันเดือนปีเกิด
เลือกผู้ประกันตน ทางเลือก 1 , 2 หรือ 3
ที่อยู่ปัจจุบัน
ระบุเหตุผลการลาออกจากประกันสังคมมาตรา 40

เอกสารที่ต้องนำไปด้วย
สำเนาบัตรประชาชน

หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไปเองไม่ได้ อย่าลืมสำเนาบัตรประชาชน)
กด >
หนังสือมอบอำนาจ (สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40)

ที่มา ข้อ 6.3 หากไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต่อไป (ลาออก) > https://www.sso.go.th/

สรุป! วิธียกเลิกประกันสังคมมาตรา 39 และเอกสารที่จำเป็น ต้องนำไปด้วย!!

เอกสารที่จำเป็นต้องพกไปด้วย!!
> เอกสารสปส. 1-21 แบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ
> สำเนาบัตรประชาชน
> หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไปเองไม่ได้ อย่าลืมสำเนาบัตรประชาชน)

กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39  มีการค้างชำระเงินสมทบจะต้องไปดำเนินการแจ้งการลาออก (สปส.1-21) ด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สมัครไว้

ดาวน์โหลดเอกสาร
กด > สปส. 1-21 แบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ

ข้อมูลที่ต้องกรอกเอกสาร
ชื่อ – นามสกุล
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
ที่อยู่ปัจจุบัน

กรณีกลับไปทำงานแล้ว เตรียมเอกสารและข้อมูลไปด้วย
ระบุชื่อสถานประกอบการ , เลขที่บัญชี , ลำดับที่สาขา (สอบถามจากสถานประกอบการที่ไปทำงาน)

เอกสารที่ต้องนำไปด้วย
สำเนาบัตรประชาชน

หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไปเองไม่ได้ อย่าลืมสำเนาบัตรประชาชน)
กด > หนังสือมอบอำนาจ (สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39)

ที่มา https://www.sso.go.th/

เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน

ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน

> ตาย 
> กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
> ลาออก
> ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)

ที่มา https://www.sso.go.th/

ยกเลิก

ลาออกจากงานประจำ และไม่ได้ทำเรื่องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่งเงินเอง (เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน)

ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สมัครไว้

ติดต่อประกันสังคม

> เบอร์ 1506

พิมพ์คุยกับเจ้าหน้าที่
http://www.sso1506.com/ssolivechat/
https://www.facebook.com/ssofanpage

 สำนักงานประกันสังคม > https://page.line.me/882xytrh