สรุปประเด็นสาระสำคัญจากข้อมูลเฟซบุ๊ก , สถานีข่าวกระทรวงการคลัง และ

ประเด็นตัดสิทธิจำนวน 199,660 ราย

  • ” ตัดสิทธิ์ คนที่ลงทะเบียนผ่านในวันแรกที่เปิดระบบชิมช้อปใช้ (23 ก.ย. 62) ซึ่งเริ่มใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. – 11 ต.ค. 62 ไม่ได้ไปใช้สิทธิ์ และถูกเรียกสิทธิ์คืน ผู้ที่ยังไม่เปิดใช้สิทธิ์ตามเวลาที่กำหนดแล้ว จำนวน 199,660 ราย
  • เข้าใจว่าเป็นแค่เพียงกลุ่มแรก วันแรก ตั้งแต่ที่เปิดระบบลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์และโดนตัดสิทธิ์ออกไป ของวันที่ (23 ก.ย. 62) แสดงว่า น่าจะมีวันอื่น ๆ ที่ใช้ไม่ทันตามเวลากำหนด 14 วัน

ประเด็นตรวจสอบสิทธิ์ผู้ลงทะเบียน 16 วันแรกเสร็จสิ้นแล้ว

มีผู้ได้รับสิทธิ์ 9,998,518 ราย ได้รับ SMS ยืนยันสิทธิ์แล้วจำนวน 9,990,275 ราย มีผู้เข้าในพลิเคชัน จำนวน 9,361,729 ราย โดยยืนยันตัวตนสำเร็จ 8,755,873 ราย และมีผู้ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแอปพลิเคชัน 628,546 ราย


ประเด็นกระเป๋า 1 และกระเป๋า G-Wallet 2

  • G-Wallet 1 คือ รัฐให้คนละ 1,000 บาท ไม่ได้เป็นเงินสด รีบเปิดใช้สิทธิ์กระเป๋า G-Wallet 1 ภายในวันที่กำหนด เพื่อรักษาสิทธิ์ให้สามารถใช้จ่ายต่อไปได้จนจบมาตรการในวันที่ 30 พ.ย.62
  • แต่ไม่ได้ใช้สิทธิ์กระเป๋า G-Wallet 1 ถึงแม้กระเป๋า G-Wallet 1 จะถูกระงับสิทธิ์ แต่สิทธิ์ในกระเป๋า G-Wallet 2 ยังสามารถเติมเงินเพิ่ม และใช้ได้ต่อจนถึง 30 พ.ย. 62
  • G-Wallet 2 คือ เติมเงินเพื่อ ใช้จ่ายในจังหวัดที่ไม่ใช่จังหวัดในทะเบียนบ้าน เพื่อรับเงินคืน 15% รับเงินคืนสูงสุดไม่เกิน 4,500 บาท เติมเงินผ่านช่องทางระบบ QR หรือพร้อมเพย์ () สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท และเงินคืนช่วงเดือน ธ.ค. 62 ยังไม่ระบุวันแน่นอน

โดนตัดสิทธิ์ ใช้เงิน 14 วันแรก ไม่ทันจะร่วมโครงการได้อีกไหม ?

หากผู้ได้รับสิทธิ์ไม่ไปใช้สิทธิ์ตามวันที่กำหนดจะถูกเรียกสิทธิ์คืน และไม่สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้อีก


ประเด็นร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ

ร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ แล้วจำนวน 95,200 ร้านค้า โดยเป็นร้านค้าที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 13,915 ร้านค้า และร้านค้าที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 81,285 ร้านค้า (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ต.ค. 62) และสำหรับร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมมาตรการ
“ชิมช้อปใช้” ยังสามารถสมัครได้จนถึงวันที่ 15 ต.ค. 62

โดยร้านค้าในเขตกรุงเทพมหานครสมัครได้ที่กรมบัญชีกลาง และในต่างจังหวัด สมัครได้ที่สำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและบริการให้กับผู้ที่ได้รับสิทธิ์จากการลงทะเบียน ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ร้านค้าเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากขึ้นอีกด้วย


ประเด็นการใช้จ่าย 14 วันแรก มีผู้ใช้สิทธิ์จำนวน 5,910,924 ราย ใช้จ่ายรวม 5,635 ล้านบาท

จากการตรวจสอบพบว่า เป็นการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดเล็กตามวัตถุประสงค์ของมาตรการฯ ประมาณ 4,601 ล้านบาท หรือมากกว่าร้อยละ 80 และมีการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาประมาณ 1,034 ล้านบาท

ซึ่งมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 22 ในช่วงเริ่มต้น เหลือร้อยละ 18 ของยอดใช้จ่ายทั้งหมด เป็นการใช้จ่าย G-wallet ช่อง 1 ประมาณ 5,578 ล้านบาท

  • ร้าน “ช้อป” ซึ่งเป็นร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งประชารัฐ และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว 3,205 ล้านบาท
  • ร้าน “ชิม” หรือร้านอาหารและเครื่องดื่มมียอดใช้จ่าย 729 ล้านบาท
  • ร้าน “ใช้” เช่น โรงแรม โฮมสเตย์ เป็นต้น มียอดใช้จ่าย 66 ล้านบาท และร้านค้าทั่วไปมียอดใช้จ่าย 1,578 ล้านบาท

สถิติจังหวัดที่มีการใช้จ่ายชิมช้อปใช้มากที่สุด 10 อันดับแรก

  1. กรุงเทพฯ 713 ล้านบาท หรือร้อยละ 13
  2. ชลบุรี 368 ล้านบาท หรือร้อยละ 7
  3. สมุทรปราการ 236 ล้านบาท หรือร้อยละ 4
  4. ปทุมธานี 173 ล้านบาท หรือร้อยละ 3
  5. พระนครศรีอยุธยา 162 ล้านบาท หรือร้อยละ 3
  6. นครปฐม 140 ล้านบาท หรือร้อยละ 2
  7. ระยอง 140 ล้านบาท หรือร้อยละ 2
  8. ลำพูน 135 ล้านบาท หรือร้อยละ 2
  9. นนทบุรี 132 ล้านบาท หรือร้อยละ 2
  10. เชียงใหม่ 129 ล้านบาท หรือร้อยละ 2

คนลงทะเบียนครบ 10 ล้านคนชิมช้อปใช้ จะเปิดอีกอีกไหม ?

จากการหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ 3 หน่วยงาน ยังไม่พบข้อมูลว่าคนที่โดนตัดสิทธิ์ไปแล้ว จะนำสิทธิ์มาเปิดให้ลงทะเบียนอีบหรือไม่ ? อย่างไงก็ดีติดตามข่าวสารและข้อมูลต่อไป


ข้อมูลเฟซบุ๊กวันที่ 11 และ 12 ตุลาคม 2562

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง , สถานีข่าวกระทรวงการคลัง และกรมบัญชีกลาง